ขงเบ้ง (ภาษาจีนกลาง : ขงหมิง) หรือ จูกัดเหลียง (จูเก๋อเลี่ยง) (ค.ศ. 181—234) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่น ของจีน หรือสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากหากว่าตามประวัติศาสตร์ ขงเบ้งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ มีตำแหน่งอัครเสนาบดีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งรัฐจ๊ก กับทั้งยังเป็นนักการเมือง นักการทูต วิศวกร นักวิชาการ และได้ชื่อว่าเป็นนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ โดยเป็นผู้คิดค้นหมั่นโถว ธนูไฟ โคมลอย และระบบชลประทาน
ชื่อแต่เกิดคือ — จูกัดเหลียง (หรือ จูเก๋อเลี่ยง)(จีนตัวเต็ม: 諸葛亮, จีนตัวย่อ: 诸葛亮, พินอิน: Zhūge Liàng) ชื่อว่า Liàng และนามสกุล Zhūge
ชื่อที่ผู้อื่นเรียกด้วยความเคารพ — ขงเบ้ง (孔明, พินอิน: Kǒngmíng)
นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่น เช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍)
ชื่อที่ผู้อื่นเรียกด้วยความเคารพ — ขงเบ้ง (孔明, พินอิน: Kǒngmíng)
นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่น เช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍)
ในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก ขงเบ้งถูกยกย่องว่าหยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร ได้รับฉายาจากบังเต็กกงว่า "ฮกหลง" หมายถึง มังกรซุ่ม หรือ มังกรหลับ จากคำแนะนำของชีซีทำให้เล่าปี่ต้องมาเชิญด้วยตัวเองถึงสามครั้งสามครา มีความรู้เป็นเลิศ รับใช้ราชวงศ์เล่าถึง 2 ชั่วอายุคน ภายหลังเล่าปี่ตาย ได้ฝากฝัง เล่าเสี้ยน ให้ดูแลแต่ไม่อาจสำเร็จได้ เพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนหูเบา เชื่อแต่คำยุยงของขันทีฮุยโฮ ยกทัพไปปราบปรามชาวม่าน และได้สู้รบกับวุยก๊กหลายครั้ง
ขงเบ้ง (Zhuge Liang -(Kong Ming)) (ค.ศ. 181-234) มีชื่อจริงว่า จูเก๋อเหลียง โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น
ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีและซุยเป๋งเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย
ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง
ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนห่านเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า
ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก
บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี(ขงเบ้งฉบับการ์ตูนบอกว่าสิ้นอายุเมื่อตอน 52 ปี) บนรถม้ากลางสนามรบ
ในหนังสือ สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) เขียนไว้ดังนี้ ครั้นเวลาค่ำ ขงเบ้งอุตส่าห์เดินออกไปดูอากาศ เห็นดาวสำหรับตัว มันเศร้าหมองกว่าแต่ก่อน ก็ยิ่งตกใจเป็นอันมาก จึงพาเกียงอุยเข้าไปที่ข้างในแล้วว่า “ชีวิตเรานี้ เห็นที่จะตายในวันพรุ่งนี้แล้ว” เกียงอุยได้ฟังดังนั้นก็ตกใจ จึงถามว่า “เหตุใดมหาอุปราชจึงว่า ฉะนี้” ขงเบ้งจึงว่า “เราพิเคราะห์ดูอากาศ เห็นดาวสำหรับตัวเราวิปริต จึงรู้ว่าสิ้นอายุแล้ว” เกียงอุยเสนอให้ขงเบ้งทำพิธีต่ออายุ ด้วยการตั้งโต๊ะบูชาเทพยดาและจุดโคมเสี่ยงทายอายุ ถ้าไฟโคมยังสว่างไสวตลอดพิธี จะมีอายุยืนยาวได้อีกสองปี แต่ถ้าไฟโคมดับก่อนเสร็จพิธี ชีวิตก็จะสิ้นสุด ขงเบ้งคิดถึงภาระหน้าที่และคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับเล่าปี่ว่า จะรวบรวมแผ่นดินถวายคืนสู่ราชวงศ์ฮั่น จำต้องทำพิธีต่ออายุ
แต่อุบัติเหตุก็เกิดขึ้น เมื่อนายพลอุยเอี๋ยนผลีผลามเข้ากระโจม เพื่อรายงานว่าสุมาอี้ส่งทัพมาท้ารบ ได้เตะเอาโคมเสี่ยงทายล้ม ไฟโคมดับ เรื่องการดูดาวประจำตัวนั้น ขงเบ้งรู้ แต่สุมาอี้ก็รู้ สุมาอี้ต้องการยืนยันความรู้ของตนว่า ขงเบ้งใกล้ตายแล้วหรือไม่ ด้วยการส่งทัพมาท้ารบ ถ้าทัพขงเบ้งออกสู้ แสดงว่าขงเบ้งยังไม่เป็นอะไร ถ้าไม่สู้แสดงว่า ขงเบ้งแย่แล้ว จะได้ตีซ้ำบดขยี้ทัพขงเบ้งให้แหลกลาญ
ขงเบ้งรู้ทันความคิดแม้รู้ว่าชีวิตจะสิ้นยังคงสติได้ดี สั่งให้ทหารออกปะทะขับไล่ทัพสุมาอี้ถอยไปตามเดิม ถึงขงเบ้งลาลับดับโลก แต่ยังได้ทำพิธีรักษาดวงดาวประจำตัวไม่ให้ร่วงหล่นจากฟากฟ้า เป็นการขู่สุมาอี้ มิให้ตามโจมตีเวลาถอยทัพ ซึ่งอุบายนี้สามารถรักษาชีวิตทหารของตนได้หลายหมื่น และยังทำให้อาณาจักร จ๊กก๊ก (ของเล่าปี่) ยืนยาวอยู่ได้อีกกว่ายี่สิบปี
พระเจ้าเล่าเสี้ยนโศกเศร้าเสียพระทัยมาก ศพของขงเบ้งถูกฝังอยู่ที่เชิงเขาเตงกุนสัน ปากทางเข้าเสฉวน ภายหลังจากที่ขงเบ้งสิ้นชีวิตไปแล้ว 29 ปี เมื่อเตงงายแม่ทัพของวุยก๊กได้ยกทัพผ่านมาทางเขาเหยียดฟ้าปากทางเข้าเมืองเสฉวนอีกทาง ได้พบกับป้อมค่ายที่ร้างบนเขา ซึ่งปราศจากทหารดูแลเมื่อขงเบ้งสิ้นชีวิตไปแล้ว ซึ่งขงเบ้งทำนายว่า ในอนาคตข้างหน้าจะมีแม่ทัพของวุยก๊กยกทัพผ่านทางนี้ จึงให้เฝ้าระวังไว้
และเมื่อจงโฮยแม่ทัพวุยก๊กอีกคนที่ยกทัพผ่านมาทางเขาเตงกุนสัน นอนหลับไปฝันเห็นว่า ขงเบ้งมาเข้าฝันว่า เมื่อยกทัพเข้าเสฉวนได้แล้ว ขอให้ไว้ชีวิตราษฎร ซึ่งจูกัดเอี๋ยนบุตรชายของขงเบ้งที่เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของจ๊กก๊กได้เข้าต่อต้านทัพวุยและก็เสียชีวิตพร้อมบุตรชายตัวเองในครั้งนี้ด้วย ปัจจุบัน มีศาลเจ้าขงเบ้งและเล่าปี่ กวน อู เตียวหุย และบรรดาขุนพลของจ๊กก๊ก ที่เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน ซึ่งได้รับการบูรณะในปีที่ 11 ของรัชสมัยจักรพรรดิคังซีของราชวงศ์ชิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น